MEMBER
บทความ
- ความงามทั่วไป
- ดูแลผิวพรรณ
- ผิวหนัง
- ฝ้า-กระ
- ลดน้ำหนัก
- ศัลยกรรมความงาม
- สุขภาพ-งานวิจัย
- หมวดสิว
- เก็บมาอยากให้อ่านกัน
- เวชศาสตร์ความงาม
- เวชศาสตร์ชะลอวัย
- เส้นผม

แผลในช่องปาก (Aphthous ulcer) สาเหตุและรักษา
แผลในปากเรื้อรัง พบได้ง่าย ลักษณะเป็นแผลเล็กๆ ตื้นๆ มีอาการเจ็บ มักเกิดบริเวณ เยื่อบุช่องปาก อาจมีแผลเดียว หรือหลายแผลก็ได้ มักหายโดยไม่มีแผลเป็น ภายใน 5-10 วัน
สาเหตุของการเกิดแผล ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด และอาจเป็นอาการของโรคใดโรคหนึ่งได้ ดังนั้นถ้าเป็นบ่อยๆ อาจต้องไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ เพิ่มเติม
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดแผลในปาก
1. การติดเชื้อ – เชื้อที่พบมักเป็นจำพวกแบคทีเรีย แกรมบวก-Streptpcoccus sanguis
2. การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน เช่นในช่วงมีประจำเดือน
3. ความเครียด
4. การพักผ่อนไม่เพียงพอ
5. การแพ้ยาสีฟัน
6. การขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก ฯลฯ
แนวทางการรักษา
- บ้วนปากให้สะอาด ด้วยน้ำเกลืออุ่น แล้วทายาป้ายแผลในปาก อาทิ Kenalog in Oralbase เพื่อลดการอักเสบ
- ยารับประทาน พวกปฎิชีวนะ อาทิ Metronidasole 200 มก. รับประทาน 2 เม็ด 3 เวลา หลังอาหาร กรณีที่มีการอักเสบมาก และป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย เพื่อระงับ การมีกลิ่นปาก
- เปลี่ยนยาสีฟันที่ใช้อยู่ประจำ มักพบคนไข้บางคน แพ้สารที่ทำให้เกิดความรู้สึกซ่า สดชื่น ในยาสีฟันบางชนิด เช่น ดาร์กี้ คอลเกต หรือ ใกล้ชิด ฯลฯ แนะนำให้ใช้ยาสีฟัน รสจืด แทน
- ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อย วันละ 10-12 แก้ว เพื่อลดการอักเสบ และทำความสะอาดช่องปาก
- รับประทานอาหานที่มีวิตามิน บี 12 ธาตุเหล็ก ในกรณีที่ขาดสารอาหาร
- ถ้าแผลเป็นนานกว่า 1 สัปดาห์ และปฏิบัติตาม ที่แนะนำแล้วยังไม่หาย อาจต้องไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุอย่างอื่น
แผลในปาก ถ้ามีลักษณะขอบหนา สกปรก มีกลิ่น และมักไม่เจ็บ ควรนึกถึงมะเร็งในช่องปากด้วย แต่มักเกิดในคนที่มีภูมิต้านทานบกพร่อง หรือในคนสูงอายุ
เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ