MEMBER
บทความ
- ความงามทั่วไป
- ดูแลผิวพรรณ
- ผิวหนัง
- ฝ้า-กระ
- ลดน้ำหนัก
- ศัลยกรรมความงาม
- สุขภาพ-งานวิจัย
- หมวดสิว
- เก็บมาอยากให้อ่านกัน
- เวชศาสตร์ความงาม
- เวชศาสตร์ชะลอวัย
- เส้นผม

ลิ้นแตกลาย คล้ายแผนที่ ( Geographic tongue) อาการแบบนี้ อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไรดี
คือ ภาวะที่ลิ้นเกิดการอักเสบ โดยปุ่มบนลิ้นจะหายไป และมีปื้นที่ดูคล้ายแผนที่เกิดขึ้นบริเวณผิวลิ้นด้านบนหรือด้านข้างลิ้น พบได้ ประมาณ ร้อยละ 1-2 ของประชากรทั่วไป พบได้บ่อยในเด็กและวัยรุ่น ทำให้ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่สบายลิ้นและทำให้ลิ้นไวต่ออาหารที่มีรสเผ็ดหรืออาหารร้อน อย่างไรก็ตาม ลิ้นลายแผนที่ไม่ใช่ปัญหาสุขภาพที่อันตราย ไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อหรือเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งแต่อย่างใด และในปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะนี้ิ
สาเหตุของลิ้นลายแผนที่
ยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิด Geographic Tongue อย่างแน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกี่ยวข้อง เช่น
- ภาวะลิ้นแตกเป็นร่อง เพราะผู้ป่วย Geographic Tongue มักมีภาวะลิ้นแตกเป็นร่องร่วมด้วย
- โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคที่มักทำให้เซลล์ผิวหนังชั้นนอกแบ่งตัวมากผิดปกติจนเกิดแผ่นปื้นที่หนาและตกสะเก็ดตามร่างกาย จนส่งผลให้รู้สึกคันและไม่สบายตัว โดย Geographic Tongue เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน
- พันธุกรรม หากคนในครอบครัวเคยเป็น Geographic Tongue มาก่อนก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน
ผู้ป่วยมักไม่ต้องเข้ารับการรักษา เพราะภาวะ Geographic Tongue ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรง ไม่มีผลต่อการรับประทานอาหาร หรือ การรับรสอาหาร แม้จะทำให้รู้สึกไม่สบายลิ้นในบางครั้ง รวมทั้งอาการที่ปรากฏอาจหายไปได้เองภายใน 2-3 วัน หรืออาจนานหลายสัปดาห์ ไม่มีความจำเป็นต้องหายามาทา
-อาจจะมีอาการระคายเคืองหรืออาการไวต่อสิ่งกระตุ้นของลิ้นได้ เช่น หากรู้สึกระคายเคืองลิ้นเมื่อรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสจัด เผ็ดร้อน หรือมีกรด ก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเหล่านั้น
-ตวรงดสูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือหลีกเลี่ยงการใช้ยาสีฟันที่มีรสเผ็ดร้อนด้วย เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อน
โดยปกติ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพหรือภาวะแทรกซ้อนระยะยาวตามมา อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายก็อาจมีภาวะลิ้นแตกเป็นร่อง ซึ่งมักเกิดร่วมกับลิ้นแตกลาย คล้ายแผนที่ และอาจทำให้ระคายเคืองหรือรู้สึกเจ็บลิ้นในบางครั้ง
การป้องกันและรักษา
รายที่มีอาการรุนแรง อาจรับประทานยากลุ่มแก้อักเสบกลุ่ม NSAID เช่น Iprobufen หรือยาป้ายแผลในปาก วิตามินเสริม หรือใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดทาในปาก เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดบนผิวลิ้น รวมถึงอาจใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาต้านฮิสตามีนหรือ เพื่อช่วยลดการอักเสบ การระคายเคือง และอาการเจ็บปวด
เรียบเรียงและค้นคว้าใหม่โดย นพ.จรัสพล รินทระ …ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด…6 August,2005